( คำสั่งเริ่มต้น ) ( สีสรร ) ( ข้อความ ) ( รูปภาพ ) ( การเชื่อมโยง ) ( รายการ ) ( ตาราง ) ( เฟรม ) ( ฟอร์ม ) ( มัลติมีเดีย ) |
รูปแบบของฟอร์ม | |
รูปแบบ คำอธิบาย |
< FORM METHOD="..." ACTION="..." ENCTYPE"..."></FORM> METHOD=GET/POST โดย GET จะส่งได้ไม่เกิน 255 ตัวอักษร ส่วนใหญ่ใช้ส่งค่าตัวแปรและ URL และ POST จะส่งข้อความไปได้ไม่จำกัด ซึ่งนิยมใช้มากกว่า GET ACTION="mailto:myaddress@mysite.co.th" ซึ่งเป็นรูปแบบของการส่งข้อมูลจากฟอร์มไปยังเมล์บ็อกซ์ของเรา ENCTYPE= "application/x-www-form-urlencoded" เป็นการกำหนด รูปแบบการเก็บข้อมูลของฟอร์ม เพื่อที่จะส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ถ้าใส่ จะทำให้โปรแกรม mailto: สามารถใช้โปรแกรมเมล์ บางโปรแกรมอ่านข้อมูลที่ถูกเก็บในรูปแบบนี้ได้ทันที เช่น <FORM METHOD=POST ACTION="mailto:info@np.a-net.net.th" ENCTYPE= "application/x-www-form-urlencoded"> </FORM> Tip ถ้าผู้กรอกแบบฟอร์มใช้บราวเซอร์จาก Netscape หัวข้อหรือ Subject ของเมล์ที่ส่งมายัง เมล์บ็อกซ์นั้นจะมีหัวข้อว่า"Form posted from Mozilla" แต่ถ้าเป็นตัวอื่นจะเป็น "Form Response" ถ้าคุณไม่ชอบก็สามารถเปลี่ยนได้ในส่วนของ ACTION ดังนี้ <FORM METHOD=POST ACTION="mailto:email@myaddress.com?subject="Answer from Product Questonaire"> โดยในส่วนของ Subject นั้นสามารถเปลี่ยนได้ตามใจเรา |
ตัวรับข้อมูลแบบ text | |
รูปแบบ ลักษณะ |
< INPUT TYPE=TEXT NAME="..." SIZE=n MAXLENGTH=n VALUE="...">
Registration Form |
ช่องป้อนรหัสผ่าน | |
รูปแบบ ลักษณะ |
< INPUT TYPE=PASSWORD NAME="..." SIZE=n MAXLENGTH=n VALUE="..."> รูปแบบคล้ายกับกับการ INPUT ด้วย TEXT ต่างกันเพียงแค่ เปลี่ยนคำว่า TEXT ให้เป็น PASSWORD เท่านั้น ในช่องที่กรอกรหัสหน้าจอ จะแสดงเป็นสัญลักษณ์ "*" เครืองหมายดอกจันแทน เพื่อป้องกันไม่ให้คนอื่นมองเห็น Verified your Authentication |
ปุ่มเลือกคลื่นวิทยุ(Radio Botton) | |
รูปแบบ ลักษณะ |
< INPUT TYPE=RADIO NAME="..." VALUE="..." CHECKED> ปุ่มเลือก แบบนี้ สามารถเลือก ได้เพียง ปุ่มเดียวเท่านั้น คำสั่ง CHECKED นั้นมีไว้ เพื่อกำหนด ให้ตัวเลือก ถูกเลือก ไว้ก่อนแล้ว โดยเป็นตัวเลือกที่เรา คิดว่าผู้กรอก แบบฟอร์ม น่าจะเลือก สามารถกำหนดได้ตำแหน่งเดียว Radio Botton |
เช็คบ็อกซ์ | |
รูปแบบ ลักษณะ |
< INPUT TYPE=CHECKBOX NAME="..." VALUE="..." CHECKED> ปุ่มเลือก แบบนี้ สามารถเลือก หลายปุ่ม คำสั่ง CHECKED สามารถกำหนด ได้หลายตัว ส่วนการตั้งค่าอื่น ๆ เหมือนแบบ Radio Botton ค่าของ name และ value ไม่มีรูปแบบ กำหนดตายตัว ว่าเป็นแบบใด จะกำหนดname ให้เหมือนกันแต่ value ต่างกันหรือ กำหนด name ต่างกัน ส่วน value เหมือนกัน อย่างไรก็ได้ ขอให้เราเข้าใจและประเมินผล ข้อมูลที่ส่งมาได้เท่านั้นเอง Checkbox Form |
ตัวรับข้อมูลแบบ TEXTAREA | |
รูปแบบ ลักษณะ |
< TEXTAREA NAME="..." ROWS=n COLS=n WRAP=OFF/VIRTUAL/SOFT/PHYSICAL/HARD > .........TEXT .........TEXT </TEXTAREA> เราสามารถกำหนดขนาดของกรอบรับข้อความได้ด้วยตัวเอง
TEXTAREA Form |
การเลือกรายการ (แบบ Drop down menu) | |
รูปแบบ ลักษณะ |
< SELECT NAME="..." > <OPTION SELECTED>คำอธิบายหัวข้อหรือตัวเลือก <OPTION >คำอธิบายหัวข้อหรือตัวเลือก <OPTION >คำอธิบายหัวข้อหรือตัวเลือก </SELECT>
ส่วนเมนูแบบ Scrolling นั้น ำได้โดยการใส่ SIZE=n เข้าไปในส่งนของ <SELECT> ซึ่งค่าของ SIZE=n นั้นจะใส่เท่าไรก็ได้ เช่น ถ้าคุณมีตัวเลือก 5 ตัว แต่ใส่ SIZE=2 คุณก็สามารถเห็นได้แค่ 2 บรรทัด เท่านั้น SIZE จะมีค่ามากน้อยขึ้นอยู่กับ OPTION ก็ได้ แล้วแต่ความสวยงามของฟอร์ม สำหรับเมนูแบบนี้ มักใช้กับหัวข้อที่มีตัวเลือกไม่ากนัก SELECT Form Type Drop Down Menu |
ฟอร์มแบบซ่อน | |
รูปแบบ คำอธิบาย |
< INPUT TYPE=HIDDEN NAME="..." VALUE="..." > ฟอร์มแบบ hidden นั้นมีประโยน์หลายอย่าง ขึ้นอยู่ว่าจะเอาไปใช้อย่างไร เช่น สมมติว่าเราออกแบบสอบถาม ไปตาม ไซต์ต่าง ๆ หลายสิบแห่ง นอกจากเราต้องการความคิดเห็นของผู้กรอกแล้ว เรายังอยากรู้ว่าฟอร์มนั้นถูกส่ง มาจากไซต์ไหนบ้าง เพื่อวิเคราะห์ว่าไซต์ใดที่มีผู้กรอกแบบฟอร์มมากที่สุด เราก็ใช้ hidden เข้ามาช่วย อาจจะตั้งค่า NAME="Form site" ส่วนค่าของ VALUE ก็แตกต่างกันไปตมไซต์ต่าง ๆ เช่น VALUE="ABC Company", VALUE="CDE Company" ฉะนั้นเวลาผลลัพธ์ถูกส่งกลับมา เราก็จะรู้ได้ว่าถูกส่งมาจากไซต์ใดใน หลายสิบไซต์นั้น HIDDEN Form |
ปุ่มตกลง, ยกเลิก และ ปุ่มแบบอื่นๆ | |
รูปแบบ ลักษณะ |
< INPUT TYPE=SUBMIT VALUE="..." > < INPUT TYPE=RESET VALUE="..." > < INPUT TYPE=BUTTON VALUE="..." >
< INPUT TYPE=IMAGE SRC="ตำแหน่งไฟล์รูปภาพ" NAME="..." > ดังตัวอย่างที่ 2 ครับ ตัวอย่าง ปุ่ม ยกเลิก และ ตกลง 1 ตัวอย่าง ปุ่ม ยกเลิก และ ตกลง 2 |