7 Days smooth at surf... |
การแต่งร้อยแก้ว |
/ การเขียนบทความ /
บทความเป็นความเรียงที่มีลัษณะพิเศษผิดจากเรียงความเรียงธรรมดา เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีพื้นฐานข้อเท็จจริง มีมูลเหตุมาจากเรื่องราว ข่าวสารที่ผู้เขียนแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์ขึ้น
ความมุ่งหมายในการเขียนบทความ
1.
เพื่ออธิบายหรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2. เพื่อพรรณนา
ทำให้ผู้อ่านนึกถึงภาพของสิ่งของ
สถานที่หรือความเป็นอยู่
3. เพื่อเทศนา ชักชวน
ให้ผู้อ่านคล้อยตามความคิดของผู้เชียน
4. เพื่ออธิบายในข้อปัญหาต่างๆ
และชักนำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและปฏิบัติตาม
ประเภทของบทความแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาได้
ดังนี้
1. ประเภทปัญหาโต้แย้ง
2. ประเภทเสนอคำแนะนำ
3. ประเภทท่องเที่ยวเดินทาง
4. ประเภทกึ่งชีวประวัติ
หรือสารคดีความรู้ทั่วไป
5.
ประเภทเปรียบเทียบสมมติหรืออุปมาอุปไมย
ลัษณะของบทความที่ดี
1. น่าสนใจ มีเนื้อหา
เหตุการณ์ใหม่กำลังเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป
2. มีสาระแก่นสาร
มีหลักฐานอ้างอิง พิสูจน์ได้
3. มีขนาดกะทัดรัด สั้นกระชับ
ใช้ภาษาง่ายๆถูกต้องตามหลักภาษา
4.
ผู้เขียนเข้าใจปัญหาที่มาของเรื่องอย่างละเอียดชัดเจนโดยตลอด
5. มีวิธีการเขียนน่าสนใจ
น่าติดตาม
ไม่หนักเชิงวิชาการหรือเบาจนไร้สาระจนเกินไป
หลักการเขียนบทความ
การเขียนบทความมีหลักเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ มีการแบ่งโครงเรื่องเป็น 3 ตอนคือ นำเรื่อง(ความนำ) เนื้อเรื่อง(ดำเนินเรื่อง) และจบเรื่อง(ลงท้าย สรุปความ)
ขั้นตอนการเขียนบทความ
1. การเลือกเรื่อง
ควรเป็นเรื่องที่คนกำลังสนใจ
หรือกำลังเป็นข่าวเด่น
ผู้เขียนมีความรู้หรือมีทางที่จะหาความรู้ที่ลึกซึ้งได้
รู้จักกำหนดขอบเขตของเรื่องให้อยู่ในวงพอเหมาะเพื่อจะได้เสนอเรื่องราวและความคิดอย่างสมบูรณ์เป็นพิเศษ
2. การรวบรวมเนื้อหา กรณีมีมูล
ต้องออกสืบหาให้ได้ชัดเจนอาจด้วยวิธีไปยังแหล่งต้นกำเนิด
การสัมภาษณ์ การอ่านเอกสาร
ทดลองปฏิบัติ
จนคิดว่าเป็นหลักฐานน่าเชื่อถือได้ในทางวิชาการ
ควรบันทึกข้อมูลเอกสาร
อ้างอิงไว้ด้วย
3. การกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะของการเขียน
เลือกสำนวนการเขียนให้ตรงกับ
ความประสงค์ปลายทางว่าต้องการให้
ผู้อ่านได้รับอะไร ทำอะไร
คิดอย่างไร เป็นต้น
4. การวางโครงเรื่อง
เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
ระวังรูปแบบของบทความที่มีลักษณะเฉพาะตัว
จากนั้นควรกำหนด
กลวิธีการเขียนและการดำเนินเรื่องให้สอดคล้องต้องกัน
ทำให้ได้สาระตรงตามจุดหมายที่วางไว้
5. การตั้งใจเขียนให้ได้เนื้อหาสาระ อ่านเพลิน
ใช้ภาษาแจ่มแจ้งเร้าใจชวนให้ติดตาม
ใช้เหตุผลที่น่าเชื่อถือเสนอทัศนะ
แปลก ลึกซึ้ง
ประทับใจและกว้างขวางเท่าที่จะทำได้
6. ทบทวนดูสาระของเรื่องว่าตรงกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้หรือไม่
ครอบคลุมหมดหรือยัง
ถ้าไม่ตรงไม่ครอบคลุมก็ควรแก้ไข
7. เมื่อเขียนเสร็จแล้วควรเก็บไว้สักสองสามวันแล้วนำมาอ่านตรวจทาน
พิจารณาอีกครั้งหนึ่งเพื่อหาทางทำให้ดีขึ้น
ถ้ามี
เวลาให้ผู้รู้อ่านวิจารณ์ด้วยก็ควรจะทำ
เพื่อจะได้นำความคิดเห็นนั้นมาปรับปรุงผลงานจะได้สมบูรณ์มากขึ้น
/ การเขียนนิทาน /
"นิทาน"
เป็นคำที่ยืมมาจากคำในภาษาบาลีสันสกฤต
มักใช้กับเรื่องเล่าธรรมดาๆ
อาจเป็นเรื่องเก่าแก่
ตำนานหรือเรื่อง
สำหรับเด็ก
เป็นเรื่องที่เล่าไปเรื่อยๆ
ไม่ต้องมีศิลปะในการเล่าหรือแต่งมากนัก
ภาษาและสำนวนโวหารที่ใช้ในการเขียนนิทาน
ควรกระทัดรัดเข้าใจง่าย
ทั้งการบรรยายและบทสนทนา
ตัวละครที่สร้าง
ขึ้นในนิทานนั้น
ถือว่ามีความสำคัญทั้งนั้นแม้แต่สัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิตก็พูดได้
คิดได้ แสดงบทบาทได้ เป็นต้น
คำแนะนำในการเขียนนิทาน
1.
คนที่จะเขียนเรืองได้ดีต้องรู้จักสังเกตสิ่งต่างๆ
ตลอดจนอุปนิสัยใจคอของคน
เพื่อประกอบในการบรรยาย และบท
สนทนา
2.
ลีลาการเขียนของผู้เขียนเป็นเรื่องสำคัญ
ในขณะเดียวกันจินตนาการก็เป็นเครื่องประกอบที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า
3. ผู้เขียนควรฝึก
นิสัยให้เป็นคนช่างสังเกต
นักฟัง นักอ่าน
ถ้าไม่มีนิสัยนี้ต้องสร้างและฝึกให้มีขึ้น
4. รู้จักตัดสินเหตุการณ์เศร้า
ขบขัน แปลก หรือน่าพิศวง
ควรรู้จักสถานการณ์ของตัวละคร
และบทบาทต่างๆให้เหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นรัก ชอบ
เกลียด ตื่นเต้น ดีใจ เสียใจ
อิจฉา พยาบาท ฯลฯ
5. ฝึกหัดเขียนอยู่เสมอ
เมื่อได้ยินได้ฟังหรือได้อ่านเรื่องอะไร
น่าสนใจ ลองเก็บมา เขียนทำบ่อยๆ
จะเกิดความชำนาญขึ้น
เอง
6. เมื่อเขียนเสร็จลองให้ผู้อื่น
อ่านและขอให้วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา
ผู้เขียนต้องทำใจให้สงบ
ยอมรับฟังคำวิจารณ์ อย่าง
มีความคิดกว้างไกล
7.
พยายามปรับปรุงข้อบกพร่องที่ได้จากคำวิจารณ์
เพื่อให้การเขียนดี
มีคุณภาพมากขึ้น
เรื่องสั้นเป็นวรรณกรรมแบบหนึ่งของชาวตะวันตก มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่น่าสนใจเพราะมีศิลปะการแต่งผิดไปจากเรียง ความ ประเภทอื่น คือเรื่องสั้นจะมีจุดหมายซึ่งแสดงความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงข้อเดียว
ลักษณะเฉพาะของเรื่องสั้น
1.
เรื่องสั้นจะต้องมีโครงเรื่อง
โครงเรื่องคือกลวิธีแห่งการสร้างเรื่องให้สนุกสนาน
โดยมีข้อขัดแย้งระหว่างตัวละคร
และจบลงด้วยผล
อย่างใดอย่างหนึ่ง
2. มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียว
และมีผลสรุปอย่างเดียว
3.ใช้เวลาน้อย
4. มีตัวละครน้อย
5. มีขนาดสั้น
ต้องเขียนด้วยการประหยัดถ้อยคำตรงไปตรงมา
ขนาดพอเหมาะอยู่ระหว่าง 4,000-5,000 คำ
หรืออ่านจบในเวลา 15-50 นาที
ชนิดของเรื่องสั้น
1. ชนิดผูกเรื่อง (Plot Story)
คือมีเค้าเรื่องสลับซับซ้อน
ผู้อ่านคาดไม่ถึง
แล้วจบลงโดยมีการสร้างปมไว้ต่อไป
2. ชนิดมุ่งแสดงลักษณะตัวละคร
(Character Story)
คือเรื่องที่ยึดลักษณะของตัวละครเป็นใหญ่
ว่า ดุร้าย อ่อนโยน สวย ฯลฯ
3. ชนิดถือฉากเป็นส่วนใหญ่ (Setting,
Atmosphere Story)
คือเขียนบรรยายสถานที่แห่งหนึ่ง
ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึก
นึกคิดต่างๆ
ซึ่งมีตัวละครเกี่ยวพันอยู่กับฉาก
4. ชนิดที่แสดงแนวความคิดเห็น
(Theme Story)
คือเรื่องที่ต้องการแสดงอุดมคติ
หรือชี้ให้เห็นความจริงของชีวิต
ซึ่งวางไว้ให้ผู้อ่าน
เกิดความคิดความรู้สึกได้เอง
เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น
1.
ต้องมีการระบายสภาพและบรรยากาศ
(Local Colour)
หมายถึงการพรรณาภาพอันใดอันหนึ่งเพื่อนำความคิดของผู้อ่าน
ให้ซาบซึ้ง ในท้องเรื่อง
ให้เห็นฉากที่เราวาดด้วยตัวอักษรนั้นชัดเจน
2. การวางเค้าเรื่อง (Plot)
มีหลักใหญ่ๆอยู่ สองแบบดังนี้
แบบที่ 1 คือเริ่มนำเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่งที่จุด ก. แล้วพาผู้อ่านเกิดความพิศวงตามเส้น ก. ข. โดยจัดเรื่องให้มีความยุ่งยาก เกิด ความฉงนขึ้นทุกที่จนถึงปลายยอดที่ ข. ซึ่งในภาษาการประพันธ์เรียกว่า ไคลแมกซ์ (Climax) และจบเรื่องลงโดยเร็ว ให้ผู้อ่านโล่งใจ เข้า ใจ สะเทือนใจอย่างใดอย่างหนึ่ง และจบลงในจุด ค.
แบบที่ 2 เป็นแบบสองซ้อน คือเริ่มต้นด้วยเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วย้อนต้นกล่าวถถึงเหตุการณ์สำคัญนั้นว่ามีมูลเหตุเป็นมาอย่างไร จากจุด ก. มายังจุด ข. แล้วดำเนินเรื่องต่อไปยังจุด ค. เช่นเดียวกับแบบ ที่ 1 โดยขมวดปมไปตามระยะทาง ข. ค. สร้างความฉงนสนเท่ห์ จนถึงจุด ค. ซึ่งเป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง และจบลงในจุด ง. โดยเร็ว
3.
การจัดตัวละครและให้บทบาท
เรื่องสั้นจะมีตัวละครน้อย
จะต้องมีตัวหนึ่งซึ่งเป็นตัวสำคัญของเรื่อง
ตัวละครนี้จะต้องมีบทบาทเพื่อ
แสดงลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งอย่างใด
ก่อให้เกิดเรื่องราวขึ้น
4. การบรรยายเรื่อง มี 2 วิธี
วิธีแรก
ให้ข้าพเจ้าหรือผู้เขียนเข้าไปอยู่ในเรื่อง
อีกวิธีให้บุรุษที่สาม ได้แก่
ตัวละครแสดงบทบาทของตนเอง
เป็นวิธีที่ดีที่สุด
5. การเปิดเรื่อง
เรื่องสั้นไม่ควรเปิดเรื่องให้อืดอาดยืดยาว
มีวิธีเปิดเรื่องดังนี้
ก.
เปิดเรื่องโดยให้ตัวละครพูดกัน
ข. โดยการบรรยายตัวละคร
ค.
โดยการว่างฉากและการบรรยายตัวละครประกอบ
ง.
โดยการบรรยายพฤติการณ์และตัวละคร
จ. เปิดเรื่องโดยขมวดแนวคิด
วิธีเปิดไม่บังคับตายตัวตามแต่ผู้เขียน
6. บทเจรจา หรือคำพูดของตัวละคร
(Dialogue)
ต้องเขียนให้เป็นภาษามนุษย์พูดกัน
และต้องให้เหมาะกับบทบาทและเหตุการณ์ที่เกี่ยว
กับตัวละคร
7. ต้องมีความแน่น (Compresion)
คือพูดให้ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย
ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
8.
ต้องทำตัวของตัวเราให้ชัดเจน
คือก่อนเขียนต้องจินตนาการลักษณะตัวละครให้ชัดเจนก่อน
แล้วเขียนตามที่เห็น
จึงจะทำให้คนอ่านเห็น ตามด้วย
9.
การให้ชื่อตัวละครและชื่อเรื่อง
การตั้งชื่อตัวละคร
ควรตั้ชื่อให้ใกล้เคียงกับชื่อคนจริงๆ
ส่วนชื่อเรื่อง
ควรพยายามตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่าน
เกิดความอยากอ่าน
โดยใช้คำสั้นๆเพียง 2-3 คำ
แต่ให้น่าทึ่ง
10. การทำบท
คือการบรรยายให้ตัวละครแสดงบทบาทเช่นเดียงกับการแสดงละคร
ต้องพรรณาถึงกิริยาท่าทาง
อาการรำพึงรำพัน ฯลฯ
ตัวอย่างเรื่องสั้น เรื่องสั้นไทยในศตวรรษใหม่
/ การเขียนวนิยาย /
นวนิยาย คือ เรื่องราวที่มีพฤติการณ์หลากหลายต่อเนื่องกัน เป็นเรื่องสมมติแต่งขึ้นแต่อาจมีมูลความจริงแฝงอยู่ก็ได้ จุดมุ่งหมายของนวนิยายอาจมีหลายอย่างทั้งจุดมุ่งหมายหลักจุดมุ่งหมายรอง มีรายละเอียดแทรกทำให้เรื่องยืดยาวออกไป โดยไม่ต้องคำนึงถึงความกระชับของโครงเรื่องเท่าใดนัก
นวนิยายมีองค์ประกอบอย่างเดียวกับเรื่องสั้นทุกประการ (มีโครงเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา และฉาก) แต่ข้อแตกต่างอยู่ที่เทคนิคการเขียนผิดกัน นวนิยายมีเทคนิคการเขียนกว้างขวางเป็นพิเศษกว่าเรื่องสั้น
หลักสำคัญในการเขียนนวนิยาย
1. การว่างโครงเรื่อง (Plot) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ผู้ประพันธ์ทุกคนจะต้องวางรากฐานในเรื่องนี้ให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วจึงลงมือแต่ง สาระสำคัญในการวางโครงเรื่องได้แก่
ก. บ่อเกิดของเรื่อง
อาจจะมีหลากหลายแล้วนำมาดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมแก่การผูกใหม่เป็นนวนิยาย
ข. ฉากชีวิต
จะต้องวางฉากชีวิตให้เหมาะสมแก่ท้องเรื่องอย่างแท้จริง
ค. ตอนจบของเรื่อง
ต้องขมวดปมหรือคลี่คลายใจความสำคัญที่ปิดมาตั้แต่ตอนต้นออกมาอย่างชัดเจน
2. บทสนทนาโต้ตอบ (Dialogue) ในการเขียนนวนิยายต้องอาศัยการโต้ตอบสนทนาระหว่างตัวละครในเรื่องด้วยกัน โดยแทรกคำบรรยายบ้างในบางตอน เรื่องที่ดีเด่นต้องมีลักษณะดังนี้
ก. ทำให้เกิดอารมณ์ (Emotion)
ในเรื่องนี้ผู้เขียนต้องมีอารมณ์ในการเขียนบทประพันธ์ของตน
แฝงความรู้สึกของตนในนิยายที่ตนประพันธ์ขึ้น
ข. รอยพิมพ์ใจ (Imaginary)
เป็นสิ่งที่ฝังใจ
ยากที่จะลืมได้
ค. รสนิยม (Taste)
ความใฝ่ฝันในการเป็นนักประพันธ์อาจจะเป็นส่วนช่วยให้เขียนนิยายได้ดีเกินความคาดหมายของตนเอง
3. อุปนิสัยของตัวละคร (Character) ควรวางอุปนิสัยใจคอของตัวละครแต่ละตัวลงไปให้รัดกุมเสียก่อนแล้วจึงดำเนินการเขียน
4. ฉาก (Setting) มีความสำคัญต่อเรื่องเป็นอย่างมากเพราะจะเป็นฐานให้ตัวละครได้แสดงบทบาท ควรคำนึงถึงอย่างน้อย 2 ประการคือ
ก.
เลือกฉากเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
ข.
ต้องรูจักฉากของตนอย่างดีหรือดีที่สุด
สูตรสำหรับการเขียนนวนิยาย
1. สูตรซินเดอเรลลา
เป็นเรื่องของนางเอกต้องตกระกำลำบากในตอนต้นแต่ประสบโชคดีในตอนจบ
2.
สูตรชายพบหญิง
เป็นเรื่องพื้นๆที่มีมาก
ฝ่ายชายพบและรักฝ่ายหญิง
แล้วพยายามหาทางต่างๆเพื่อให้ได้รับรักจากหญิง
3.
สูตรเรื่องตะวันตก
เป็นเรื่องของอเมริกัน
ประเภทโคบาล
ชีวิตต่อสู้เผชิญอิทธิพลนักเลงประจำถิ่น
อาจมีคนรักเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
4.
สูตรหนามยอกหนามบ่ง
เป็นเรื่องตัวละครแก้ลำ ฉลาด โง่
หรือแกมโกงมีเลห์กลต่างๆทันกัน
5.
สูตรต้มหมู เป็นเรื่องหลอก
ต้มตุ๋น
หรือหลอกลวงรวมไปถึงการแบล็คเมล์เอารัดเอาเปรียบต่างๆ
6.
สูตรสถานการณ์แบบรูปสามเหลี่ยม
จะมีโครงเรื่องแบบมีตัวละครสามตัว
มีข้อขัดแย้งกันคือผลประโยชน์ขัดกันในเรื่องความรักเป็นพื้น
7.
สูตรต้นร้ายปลายดี
เป็นเรื่องที่แสดงการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยของตัวละครจากชั่วกลายเป็นดีในที่สุด
8.
สูตรครอบครัว
เกี่ยวกับความรักในครอบครัว
มรดก เมียน้อย เมียหลวง ลูกแท้
ลูกเลี้ยง
9.
สูตรชุมชน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับชุมชน
สวัสดิภาพของสังคม
โดยมีเนื้อเรื่องเสียดสีสังคม
เช่น ปัญหาโสเภณี การหย่าร้าง
10.
สูตรสำเร็จ
เป็นเรื่องที่ตัวเอกมุ่งมั้นแสดงเจตนาอย่างแรงกล้าที่จะกระทำอะไรสักอย่างหนึ่งให้สำเร็จตามความทะเยอทะยานของตน
11.
สูตรกลับ
กำหนดให้ตัวละครสำคัญหายไปจากบ้านเกิด
อาจไปดี หรือร้าย
แล้วกลับมามีเรื่องราวที่บ้านเกิดอีกครั้ง
12.
สูตรเสียสละ
เป็นการเสียสละอย่างใดอย่างหนึ่งของตัวละคร
ด้วยสภาพบังคับ หรือความเต็มใจ
13.
สูตรแก้แค้นหรือลงโทษ
เป็นเรื่องล้างแค้น จองเวร
บางทีรุนแรงมาถึงชั่วลูกหลานกลายเป็นเรื่องล้างตระกูลกัน
เป็นต้น
/ การเขียนบทละคร /
ละคร คือ การละเล่นเลียนแบบชีวิต โดยมีการร้องรำทำเพลงประกอบ อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 หมายถึง การละเล่นที่แสดงกิริยาท่าทางเต้นรำหรือระบำต่างๆ กลุ่มที่ 2 หมายถึงการแสดงที่ต้องมีเนื้อเรื่องเป็นสำคัญ เช่น ละคร ลิเก เสภา ปัจจุบันมีศัพท์เรียกละครว่า นาฏศิลป์
ละครที่ได้พบมากในปัจจุบัน ได้แก่ ละครพูด ละครวิทยุ ละครโทรทัศน์ ละครพูดที่แสดงบนเวทีอาจมีเวลาเสดงไม่ยาวนัก (ตั้งแต่ 1-3 ชั่วโมง) ตัวละครจะต้องใช้การพูดจาสนทนา และแสดงท่าทางประกอบให้เป็นไปตามธรรมชาติ เหมือนพูดคุยกันในชีวิตประจำวันมากที่สุด ส่วนละครวิทยุและโทรทัศน์ อาจเป็นเรื่องยาวหลายตอนจบหรือสั้นตอนเดียวจบก็ได้
การเขียนบทละคร
การเขียนบทละคร มักได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งทำนองเดียวกับเรื่องสั้นและนวนิยาย แรงบันดาลใจนี้ นับเป็นสิ่งสำคัญมาก การเขียนบทละครบางทีอาจได้เปรียบอยู่บ้าง เพราะบางคนอาจเอามาจากเรื่องสั้น หรืนักประพันธ์เอกได้เขียนไว้แล้ว มาทำเป็นละครเวที ละครวิทยุ ละครโทรทัศน์ ผู้ทำเรียกว่าฝ่ายเขียนบท ซึ่งอาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของประเภทการเขียน
การเขียนบทละครมีโครงสร้างอย่างเดียวกับการเขียนเรื่องสั้น คือ มีความสำคัญอันเป็นแกนของเรื่อง มีเค้าโครงเรื่อง มีตัวละคร บทสนทนา และฉาก การเขียนเรื่องสั้นทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลินจากการอ่าน แต่งบทละคร เป็นศิลปะที่จะนำไปแสดงเพื่อให้คนได้ชม แล้วเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
การเขียนบทละครอาจเขียนจบฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้
เรียกตอนหนึ่งๆว่า องค์ก็ได้
ฉาก
บอกให้ทราบสถานที่ชัดเจน เช่น
ในป่าลึก หาดทราย ในบ้าน
หรือในห้อง
บอกเวลาในขณะนั้นด้วย
ตัวละคร บอกเพศ
ชื่อและชื่อสกุล
อายุรูปร่างลักษณะ
การบรรยายนำเรื่องเพื่อสร้างบรรยากาศ
ในกรณีเป็นเรื่องยาวควรมีอย่างยิ่ง
แต่ถ้าเป็นเรื่องสั้นอาจไม่จำเป็น
บทสนทนา
มีความสำคัญมาก
เพราะการดำเนินเรื่องอยู่ที่การสนทนาของตัวละครใช้ภาษาพูดให้เหมือนชีวิตจริงๆ
ควรเป็นประโยคสั้นๆเข้าใจง่าย
อาจแทรกอารมณ์ขันลวไป
จะทำให้เรื่องออกรสยิ่งขึ้น
ตอนจบ
ต้องจบอย่างมีเหตุผล
จบอย่างมีความสุข หรือเศร้า
หรือจบลงเฉยๆด้วยการทิ้งท้ายคำพูดให้ผู้ชมคิดเอง
อาจเป็นถ้อยคำประทับใจเหมือนละลอกคลื่นที่ยังคงพริ้วกระทบฝั่ง
หลังจากได้ทิ้งก้อนหินลงไปเมื่อครู่ใหญ่ๆ
การขึ้นต้นและการจบเรื่อง เป็นลีลาและศิลปะของผู้เขียนโดยเฉพาะที่จะทำให้ผู้ชมพอใจ แต่เมื่อจบแล้วต้องให้เข้าใจเรื่องโดยตลอด
อ้างอิงจากหนังสือ
"หลักนักเขียน" (สมบัติ
จำปาเงิน สำเนียง
มณีกาญจน์ : เรียบเรียง)
หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป
๑๙๕ บาท
| Home | การแต่งร้อยแก้ว
| การแต่งร้อยกรอง
| วิธีการร่วมสนุก | About Us | Top |
Weekly Poems | วันจันทร์ | วันอังคาร | วันพุธ | วันพฤหัสบดี | วันศุกร์ | วันเสาร์ |
วันอาทิตย์ |
| นวนิยาย | บทละคร | เรื่องสั้น | บทความ | เรื่องที่อยากเล่า | นิทาน | ตำนาน-ชาดก | แนะนำหนังสือ | สาระ-เกร็ดความรู้ |
7Smooth.com Group
Copy Right 1999
poet2543@hotmail.com | poet2543@7smooth.com