ความเป็นมาขนมไทย


3D_Diamond.gif (591 bytes)ของหวานไทยหรือขนมไทย กล่าวได้ว่ามีอยู่คู่กับคนไทยมาช้า นาน   เพราะเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า คนไทยเป็นคนมี ลักษณะนิสัยอย่างไร เนื่องด้วยขนมไทยแต่ละชนิด ล้วนมีเสน่ห์  มี รสชาติ   ที่แตกต่างกันออกไป แต่แฝงไปด้วยความละเมียดละไม   ความวิจิตรบรรจง   อยู่ในรูปลักษณ์ กลิ่น รสของขนม   ที่สำคัญ ขนม ไทยแสดง ให้เห็นว่า เป็นคนใจเย็น   รักสงบ  มีฝีมือเชิงศิลปะ   ขนมธรรมดา ๆ ทำด้วยแป้ง น้ำตาล   มะพร้าว  เป็นส่วนประกอบ สำคัญ สามารถดัดแปลงเป็นขนมหลายชนิด หน้าตาแตกต่างกัน

บุหลันดั้นเมฆ

ขนมโบราณ  3  ชนิด

3D_Diamond.gif (591 bytes) ในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนมก็ เฉพาะ ใน วาระสำคัญเท่านั้น  เป็นต้น ว่า   งานบุญ   เทศกาลสำคัญ  หรือต้อน รับ แขกสำคัญ   เพราะขนมบางชนิด จำเป็น ต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาใน การทำอยู่พอสมควร   ส่วนใหญ่เป็น

ขนมทอง

ขนมประเพณี   เป็นต้นขนมงานเนื่อง ในแต่งงาน   ขนมพื้นบ้าน เช่น  ขนม ครก   ขนมถ้วย ฯลฯ   พวกนี้มีเห็น ออกดาษดื่น ส่วน ขนมในรั้วในวังก็จะ ก็จะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวาง รูปทรงขนมสวยงาม

ขนมที่เกิดขึ้นครั้งแรก

3D_Diamond.gif (591 bytes) ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า "ขนมไทย"   เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรก   แต่ตามประวัติศาสตร์ไทย มี หลักฐานตอนหนึ่งว่ามีการจารึกชื่อขนมที่ทำเลี้ยงคนในคราวขุดสระ   เป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยเก่าในแท่ง ศิลาจารึก  ขนมที่ปรากฏก็คือ "ไข่กบ   นกปล่อย  บัวลอย  อ้ายตื้อ"   เลี้ยงคนที่มาช่วยกันขุดสระ   ฟังดูก็แปลกดี ลอง ถามผู้ใหญ่ดู ถึงได้รู้ว่า ไข่กบ น่าจะหมายถึง   เม็ดแมงลัก  นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง  บัวลอย   หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว   ขนมทั้งสี่อย่างนี้   ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกัน คือ "น้ำกะทิ" นี่คือขนมชนิด แรกของ ชนชาติไทย เพราะในสมัยนั้นนิยมเชิญผู้ปกครองไปกินขนมสี่อย่างนี้ด้วย โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียก การเลี้ยง ขนม ๔ อย่างนี้ว่า "ประเพณี ๔ ถ้วย"

พระมหากษัตริย์ไทยกับขนมไทย

3D_Diamond.gif (591 bytes) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ที่ ทรงพระปรีชาสามารถด้านศิลปะ วรรณกรรม  และอื่น ๆ  ได้ ทรง พระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ใน หนังสือ ประชุม กาพย์เห่เรือ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชา นุภาพ   ได้ประทานคำอธิบาย เกี่ยวกับ กาพย์ เห่ชม เครื่องคาว หวานไว้ตอนหนึ่งว่า ขนมดอกลำเจียก
"เข้าใจว่าทรงพระราชนิพนธ์ แต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ผู้หลักผู้ใหญ่ เล่ากันมาว่าพระราชนิพนธ์นี้   ทรงชมสมเด็จ พระศรีสุริเยนทราบรมราชชนนีแต่ยังเป็น สมเด็จพระเจ้าหลานเธอด้วย กระบวนแต่งเครื่องเสวยไม่มีผู้ใดจะตี เสมอในครั้งนั้น"

กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวาน
บทพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๒

ขนมเทียนแก้ว

โคลง
สังขยาหน้าไข่คุ้น เคยมี
แกมกับข้าวเหนียวสี โศกย้อม
เป็นนัยนำวาที สมรแม่   มาแม่
แถลงว่าโศกเมอพ้อม เพียบแอ้อกอร
กาพย์
สังขยาหน้าไข่คุ้น ข้าวเหนียวใส่สีโศกแสดง
เป็นนัยไม่เคลือบแคลง แจ้งว่าเจ้าเศร้าโศกเหลือ
ซ่าหริ่มลิ้มหวานล้ำ แทรกใส่น้ำกะทิเจือ
วิตกอกแห้งเครือ ได้เสพย์หริ่มพิมเสนโรย
ลำเจียกชื่อขนม นึกโฉมฉมหอมชวยโชย
ไกลกลิ่นดิ้นแดโดย โหยไห้หาบุหงางาม
มัศกอดกอดอย่างไร น่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความ ขนมนามนี้ยังแคลง
ลุตตี่นี่น่าชม แผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง
โอชาหน้าไก่แกง แคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย
ขนมจีบเจ้าจีบห่อ งามสมส่อประพิมประพาย
นึกน้องนุ่งจีบถวาย ชายพกจีบกลีบแนบเนียน
รสรักยักลำนำ ประดิษฐ์ทำขนมเทียน
คำนึงนิ้วนางเจียน เทียนหล่อเหลาเกลากลึงกลม
ทองหยิบทิพย์เทียมทัด สามหยิบชัดน่าเชยชม
หลงหยิบว่ายาดม ก้มหน้าเมินเขินขวยใจ
ขนมผิงผิงผ่าวร้อน เพียงไฟฟอนฟอกทรวงใน
ร้อนนักรักแรมไกล เมื่อไรเห็นจะเย็นทรวง
รังไรโรยด้วยแป้ง เหมือนนกแกล้งทำรังรวง
โอ้อกนกทั้งปวง ยังยินดีด้วยมีรัง
ทองหยอดทอดสนิท ทองม้วนมิดคิดความหลัง
สองปีสองปิดบัง แต่ลำพังสองต่อสอง
งามจริงจ่ามงกุฏ ใส่ชื่อดุจมงกุฏทอง
เรียมร่ำคำนึงปอง สะอิ้งน้องนั้นเคยแล
บัวลอยเปล่งเคร่งยุคล สถนนุชดุจประทุม
ช่อม่วงเหมาะมีรส หอมปรากฏกลโกสุม
คิดสีสไบคลุม หุ้มห่อม่วงดวงพุดตาน
ฝอยทองเป็นยองใย เหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
คิดความยามเยาวมาลย์ เย็นชุนใช้ไหมทองจีน ฯ

หน้าที่ผ่านมา 3D_Diamond.gif (591 bytes) หน้าหลัก 3D_Diamond.gif (591 bytes) หน้าต่อไป

1