โครงการวิจัยและพัฒนาอ้อยเพื่อคุณภาพความหวาน
อุดม เลียบวัน : ผู้ประสานงาน
นับตั้งแต่ปีการผลิตอ้อยและน้ำตาล 2535/36 ประเทศไทยได้เปลี่ยนระบบการซื้อขายอ้อยจากระบบน้ำหนักมาเป็นระบบคุณภาพความหวาน (ซี.ซี.เอส.) โดยที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้กำหนดราคาอ้อยตามน้ำหนักอ้อยที่มีค่า ซี.ซี.เอส. เท่ากับ 10 และเมื่อค่า ซี.ซี.เอส. แตกต่างไปจาก 10 ราคาอ้อยจะเปลี่ยนไป โดยที่อ้อย 1 ตัน ค่า ซี.ซี.เอส. เปลี่ยนไปจาก 10 ซี.ซี.เอส. จำนวน 1 ซี.ซี.เอส ราคาอ้อยจะเปลี่ยนไป 6 เปอร์เซ็นต์ของราคาอ้อยที่ 10 ซี.ซี.เอส. ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้แก่ ในช่วงต้นฤดูหีบอ้อย (พย.-ธค.) อ้อยยังไม่ค่อยหวานโดยเฉพาะอ้อยปลูก เพื่อสนับสนุนระบบการซื้อขายอ้อยตามคุณภาพ ในปี 2536 - 2541 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี มีเป้าหมายที่จะได้พันธุ์อ้อยที่มีการสะสมน้ำตาลเร็ว ได้ปุ๋ยและวิธีการใส่ปุ๋ย ได้วิธีการใช้สารเร่งการสุกแก่ของอ้อย และได้วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการเพิ่มคุณภาพของอ้อยผลงานที่ได้ดำเนินงานมาพอสรุปได้ดังนี้
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อสะสมน้ำตาลเร็วชุด 1995 : การผสมพันธุ์
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อสะสมน้ำตาลเร็ว ชุด 1995 การผสมพันธุ์อ้อย ทำการปลูกอ้อยเป็นพ่อแม่พันธุ์ ในเดือนธันวาคม 2537 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี และศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ระยะปลูก 1.30 X 0.5 เมตร พันธุ์ละ 2 แถว ๆ ยาว 6 เมตร ทำการดูแลรักษาและเมื่ออ้อยออกดอกทำการผสมพันธุ์อ้อย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม 2538 ได้อ้อยลูกผสม 34 คู่ผสม จำนวน 42 ช่อ และเมื่อนำไปเพาะได้อ้อย 9,153 ต้น เป็นอ้อยลูกผสมเดี่ยว 26 คู่ผสมจำนวน 34 ช่อ เพาะได้อ้อย 8,093 ต้น เป็นลูกผสมเปิด 3 คู่ผสมจำนวน 3 ช่อ เพาะได้อ้อย 440 ต้น เป็นลูกผสมตัวเอง 2 คู่ผสม จำนวน 2 ช่อเพาะได้กล้าอ้อย 168 ต้น เป็นลูกผสม poly cross 3 คู่ผสมจำนวน 3 ช่อเพาะได้อ้อย 452 ต้น
การเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยเบื้องต้นเพื่อสะสมน้ำตาลเร็วชุด 1991 : อ้อยปลูก
การเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยเบื้องต้นเพื่อสะสมน้ำตาลเร็ว ชุด 1991 อ้อยปลูก ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB ทำ 2 ซ้ำ มีอ้อยทดลอง 34 clone มีพันธุ์อู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ ระยะปลูก 1.30 X 0.5 เมตร หลุมละ 1 ท่อน ๆ ละ 3 ตา มีขนาดแปลงย่อย 5.2 X 6 เมตร ผลการทดลองปรากฏว่าผลผลิตของแต่ละ clone ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ค่า ซี ซี เอส. ของแต่ละ clone แตกต่างกันทางสถิติ clone 92-2-116 ให้ผลผลิตสูงสุด 19.20 ตัน/ไร่ รองลงมาได้แก่ พันธุ์อู่ทอง 2 และ 91-2-633 ให้ผลผลิต 18.92 และ 18.41 ตัน/ไร่ ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์อู่ทอง 1 ให้ผลผลิต 14.33 ตัน/ไร่ ส่วนค่า ซี ซี เอส . clone 91-2-594 มีค่าสูงสุด 17.39 รองลงมา ได้แก่ clone 92-2-109 และ 92-2-056 มีค่า ซี ซี เอส. 16.54 และ 16.48 ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์อู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 มีค่า ซี ซี เอส. 12.29 และ 14.17 ตามลำดับ เมื่อคำนวณเป็นน้ำตาล ซี.ซี.เอส ต่อไร่ clone 91-2-594 มีน้ำตาลสูงสุด 3.06 ตัน ซี.ซี.เอส/ไร่ รองลงมาได้แก่ clone 92-2-369 และ 89-2-366 มีน้ำตาล 2.88 และ2.86 ตัน ซี.ซี.เอส/ไร่ ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์อู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 มีน้ำตาล 1.76 และ 2.68 ตัน ซี.ซี.เอส/ไร่ ตามลำดับ นอกจากนี้มี clone ที่ต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลางได้แก่ 91-2-417, 92-2-106 และ clone ที่ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง ได้แก่ UT2M2, 92-2-065, 92-2-149, 92-2-271 และ 91-2-594
>การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อสะสมน้ำตาลเร็วชุด 1992 : การคัดเลือกครั้งที่ 2 อ้อยตอ 1
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อสะสมน้ำตาลเร็วชุด 1992 การคัดเลือกครั้งที่ 2 อ้อยตอ 1 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ้อยชุดนี้ผสมพันธุ์ปี 2535 ได้อ้อย 4,970 ต้น คัดเลือกครั้งที่ 1 ปี 2536 ได้อ้อย 397 clone ปี 2537 ทำการคัดเลือกครั้งที่ 2 ได้อ้อย 107 clone ในปี 2538 ทำการคัดเลือกครั้งที่ 2 อ้อยตอ 1 โดยการดูแลรักษาอ้อยตอ 1 ภายหลังจากการตัดอ้อยปลูก ซึ่งปลูก clone ละ 1 แถว ๆ ยาว 6 เมตร ระยะปลูก 1.30 X 0.5 เมตร หลุมละ 1 ท่อน ๆ ละ 3 ตา ผลการคัดเลือกครั้งที่ 2 อ้อยตอ 1 ปรากฏว่า ทำการคัดเลือกได้อ้อย 59 clone 12 คู่ผสม โดยที่ในเดือน พฤศจิกายน 2538 clone 92-2-354 มีค่าซี ซี เอส สูงสุด 15.75 รองลงมาได้แก่ clone 92-2-201 clone 92-2-030 มีค่าซี ซี เอส 13.07 และ 12.63 ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์อู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 มีค่าซี ซี เอส ในเดือนพฤศจิกายน 5.47 และ 10.24 ตามลำดับ ส่วนในเดือนมกราคม 2539 clone 92-2-103 มีค่าซี ซี เอส สูงสุด 16.52 รองลงมาได้แก่ 92-2-040 และ 92-2-354 มีค่าซี ซี เอส 16.0 และ 15.94 ตามลำดับ ขณะที่พันธุ์อู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 มีค่าซี ซี เอส ในเดือนมกราคม 12.36 และ 13.13 ตามลำดับ
ปรับปรุงการผลิต
ผลของการออกดอกของอ้อยที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงผลของการออกดอกของอ้อย ที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อย โดยทำการเปรียบเทียบผลผลิตและคุณภาพของอ้อย จำนวน 5 พันธุ์ ผลการทดลอง พบว่า การออกดอกของอ้อยมีผลเสีย ในแง่การลดลงของผลผลิต กล่าวคือ อ้อยที่ออกดอกที่ผลผลิตเฉลี่ยลดลงประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์ อย่างไร่ก็ดี การทดลองนี้ไม่พบความเปลี่ยนแปลงในเรื่องคุณภาพอ้อย อ้อยที่ออกดอกและไม่ออกดอก มีค่า Brix ใกล้เคียงกันในช่วงเก็บเกี่ยว
การศึกษาวิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อเพิ่มผลผลิต และคุณภาพอ้อยพันธุ์อู่ทอง 1 (อ้อยตอ 2)
การศึกษาอัตราปุ๋ยไนโตรเจน 2 อัตรา คือ 12 และ 24 กก.N/ไร่ โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยอ้อย 6 วิธีการได้แก่ 1) ใส่ N ทั้งหมด เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน 2) ใส่ ฝ Nเมื่ออ้อยอายุ 1 และ 3 เดือน 3) ใส่ 2/3 N เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน และ 1/3 N เมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน 4) ใส่ ผ N รองพื้น และ พ N เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน 5) ใส่ ผ N รองพื้น ฝ N เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน และอีก ผ N เมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน 6) ใส่ ผ N รองพื้น ผ N เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน และอีก ฝ N เมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ผลการทดลองในปี 2538 ซึ่งเป็นการทดลองในอ้อยตอ 2 พันธุ์อู่ทอง 1 พบว่า ผลผลิตของอ้อยที่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 12 กับ 24 กก.N/ไร่ ไม่แตกต่างทางสถิติ และวิธีการใส่ปุ๋ยทั้ง 6 วิธี ให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยไม่แตกต่างทางสถิติ และวิธีการใส่ปุ๋ยทั้ง 6 วิธี มีค่า CCS ไม่แตกต่างทางสถิติเช่นกันดังนั้น จึงส่งผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลตัน CCS/ไร่ ของอ้อยที่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 2 อัตรา และวิธีการใส่ 6 วิธี ไม่แตกต่างทางสถิติ
การศึกษาวิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน เพื่อผลผลิตและคุณภาพอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 (อ้อยตอ 1)
การศึกษาอัตราปุ๋ยไนโตรเจน 2 อัตรา คือ 12 และ 24 กก.N/ไร่ โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยอ้อย 6 วิธีการได้แก่ 1) ใส่ N ทั้งหมด เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน 2) ใส่ ฝ N เมื่ออ้อยอายุ 1 และ 3 เดือน 3) ใส่ 2/3 N เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน และ 1/3 N เมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน 4) ใส่ ผ N รองพื้น และ พ N เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน 5) ใส่ ผ N รองพื้น ฝ N เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน และอีก ผ N เมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน 6) ใส่ ผ N เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน และอีก ฝ N เมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ผลการทดลองในปี 2538 ซึ่งเป็นการทดลองในอ้อยตอ 1 พันธุ์อู่ทอง 2 พบว่า ผลผลิตของอ้อยที่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 12 กับ 24 กก.N/ไร่ ไม่แตกต่างทางสถิติและวิธีการใส่ปุ๋ยทั้ง 6 วิธี ให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยไม่แตกต่างทางสถิติเช่นกัน แต่มีแนวโน้มว่า การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 24 กก.N/ไร่ โดยการแบ่งครึ่งใส่ เมื่ออ้อยอายุ 1 และ 3 เดือน ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดคือ 17.2 ตัน/ไร่ แต่เมื่อคำนวณผลผลิตน้ำตาล พบว่า การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 12 กก.N/ไร่ โดยการใส่ปุ๋ยทั้งหมดเมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน มีแนวโน้มให้น้ำตาลตัน CCS/ไร่ สูงสุดคือ 2.8 ตัน CCS/ไร่
เวลาของการใช้และอัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมเพื่อลดการออกดอกของอ้อย
การทดลองการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 4 ระดับ (0 , 15 , 30 และ 45 กก.N/ไร่) เมื่ออ้อยอายุ 5 เดือน (3 กรกฎาคม 2538) เพื่อลดการออกดอกของอ้อยปลูกพันธุ์อู่ทอง 2 โดยมีการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ทุกกรรมวิธี เมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน เป็นการทดลองในสภาพไร่ วางแผนการทดลองแบบ RCB 5 ซ้ำ ผลการทดลอง พบว่า การเพิ่มอัตราของการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกของอ้อยลดลง ถึงแม้ว่าเปอร์เซ็นต์การออกดอกของอ้อยที่ใช้ปุ๋ย 0-45 กก.N/ไร่ จะไม่แตกต่างทางสถิติก็ตาม อ้อยที่ไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมีเปอร์เซ็นต์ออกดอก 26.8 % ในขณะที่อ้อยที่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 15,30 และ 45 กก.N/ไร่ มีเปอร์เซ็นต์ออกดอก 26.7 , 19.4 และ 16.9% ตามลำดับ อ้อยที่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมีจำนวนปล้องต่อลำมากกว่าอ้อยที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยพบว่า เมื่อเพิ่มอัตราการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนผลผลิตของอ้อยจะเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยที่ใช้ การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่ม 45 กก.N/ไร่ นอกจากจะช่วยลดการออกดอกของอ้อยแล้ว ยังทำให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับอ้อยที่ไม่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน คือ มีผลผลิตเฉลี่ย 26.4 ตัน/ไร่ ส่วนในด้านคุณภาพความหวานอ้อยพบว่า ค่า CCS ของอ้อยและน้ำตาลตัน CCS/ไร่ ที่ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 0-45 กก.N/ไร่ ไม่แตกต่างทางสถิติ
การเพิ่มผลผลิตน้ำตาลโดยการใช้สารเร่งการสุกแก่ของอ้อยร่วมกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในอ้อยตอ 1
การใช้สารเร่งการสุกแก่ของอ้อย (ripener) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี และสถานีทดลองพืชไร่พิษณุโลก โดยวางแผนการทดลอง Split plot in RCB ประกอบด้วย main plot คือ การใช้ และไม่ใช้สารเร่งการสุกแก่อ้อย (glyphosate ในรูป sesquisodium salt ชื่อการค้า Quantum อัตราความเข้มข้น 0.3 % ของผลิตภัณฑ์) sub plot คือ อัตราการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 4 ระดับ คือ 0, 15, 30 และ 45 กก.N/ไร่ ผลการทดลองอ้อยตอ 1 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี พบว่า องค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตของอ้อยที่ใช้ และไม่ใช้สารเร่งการสุกแก่อ้อยไม่แตกต่างนัยสำคัญทางสถิติการใช้ glyphosate ช่วยเพิ่มความหวานอ้อย (เพิ่มค่า CCS จาก 12.5 เป็น 12.7CCS) ถึงแม้ว่า ค่า CCS ของอ้อยที่ใช้ และไม่ใช้สารเร่งการสุกแก่ จะไม่แตกต่างทางสถิติก็ตามการเพิ่มอัตราการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมีผลทำให้ค่า CCS มีแนวโน้มลดลง การใช้สารเร่งการสุกแก่อ้อยร่วมกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 15 กก.N/ไร่ จะช่วยทำให้อ้อยมีผลผลิตน้ำตาลสูงสุดคือ 2.39 ตัน CCS/ไร่ ส่วนผลการทดลองที่สถานีทดลองพืชไร่พิษณุโลกพบว่า การใช้ glyphosate ช่วยเพิ่มความหวานอ้อยโดยเพิ่มค่า CCS จาก 12.5 เป็น 12.9 CCS ถึงแม้ว่าจะไม่แตกต่างทางสถิติก็ตาม ส่วนผลผลิตน้ำหนักของอ้อยที่ใช้ และไม่ใช้ glyphosate ไม่แตกต่างทางสถิติ การใช้ glyphosate เพิ่มความหวานร่วมกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 45 กก.N/ไร่ ให้ผลผลิตน้ำตาลสูงสุดคือ 2.32 ตัน CCS/ไร่ ในขณะที่อ้อยที่ใช้ปุ๋ยอัตราเดียวกัน แต่ไม่ใช้ glyphosate มีผลผลิตน้ำตาล 1.54 ตัน CCS/ไร่
การใช้สาร ethephon ยับยั้งการออกดอกของอ้อยเพื่อลดการสูญเสียผลผลิตน้ำตาลของอ้อยที่เก็บเกี่ยวปลายฤดูหีบ
ผลการทดลองการใช้สาร ethephon 2 อัตรา คือ 76.8 และ 153.6 g a.i./ไร่ เพื่อยับยั้งการออกดอกของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 เปรียบเทียบกับอ้อยที่ไม่ได้ฉีดพ่น ethephon โดยมีการฉีดพ่น ethephon ที่ 3 เวลา คือ 4 กรกฎาคม 24 กรกฎาคม และ 16 สิงหาคม 2538 เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการใช้ ethephon ยับยั้งการออกดอกของอ้อย วางแผนการทดลองแบบ 2x3+1 Factorial in RCB 6 ซ้ำ โดยมีอัตราของการใช้ ethephon เป็นปัจจัยที่ 1 และเวลาของการฉีดพ่น ethephon เป็นปัจจัยที่ 2 มี check ก็คือ ไม่มีการฉีดพ่น ehtephon ผลการทดลองในอ้อยปลูกพบว่า การใช้ ethphon ช่วยลดการออกดอกของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 คือ เปอร์เซ็นต์การออกดอกของอ้อยที่ใช้ ethephon ทั้ง 2 อัตรา น้อยกว่าอ้อยที่ไม่ได้ใช้ ethephon อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอ้อยที่ใช้ ethephon ที่อัตรา 153.6 g a.i./ไร่ มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกน้อยกว่าอ้อยที่ใช้ ethephon อัตรา 76.8 g a.i./ไร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อ้อยที่ใช้ ethephon อัตรา 153.6 g a.i/ไร่ มีเปอร์เซ็นต์ ลำออกดอกเฉลี่ย 16.1 % ส่วนอ้อยที่ใช้ ethephon อัตรา 76.8 g a.i./ไร่ มีเปอร์เซ็นต์ลำออกดอกเฉลี่ย 30.6 % และอ้อยที่ไม่ได้ฉีดพ่น ethephon มีเปอร์เซ็นต์ลำออกดอกเฉลี่ย 41.0 % เวลาที่เหมาะสมของการใช้ ethephon เพื่อยับยั้งการออกดอกของอ้อยก็คือ 16 สิงหาคม อ้อยที่ฉีดพ่น ethephon ในช่วงนี้มีเปอร์เซ็นต์ลำออกดอกน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับเวลาอื่น ถึงแม้ว่า อ้อยที่ฉีด ethephon ทั้ง 3 เวลา จะมีเปอร์เซ็นต์ลำออกดอกไม่แตกต่างทางสถิติก็ตาม แต่เมื่อดูในด้านผลผลิตน้ำหนักอ้อยพบว่า อ้อยที่ใช้ ethephon อัตรา 76.8 g a.i./ไร่ ให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยสูงกว่าอ้อยที่ใช้ ethephon อัตรา 153.6 g a.i./ไร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ผลผลิตอ้อยที่ใช้ ethephon อัตรา 153.6 g a.i./ไร่ ไม่แตกต่างนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับอ้อยที่ไม่ใช้ ethephon อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่า อ้อยที่ใช้ ethephon อัตรา 76.8 g a.i./ไร่ ให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยสูงสุด คือ 21.1 ตัน/ไร่ เพราะว่าอ้อยที่ใช้ ethephon ที่ไม่ออกดอกยังคงย่างปล้องต่อไป ทำให้อ้อยมีจำนวนปล้องและความสูงเพิ่มขึ้น ส่วนคุณภาพความหวานอ้อยที่ใช้และไม่ใช้ ethephon ใกล้เคียงกัน คือ มีค่า CCS ไม่แตกต่างทางสถิติ แต่มีแนวโน้มว่า อ้อยที่ใช้ ethephon อัตรา 153.6 g a.i./ไร่ ฉี ดพ่น ethephon 16 สิงหาคม ให้ค่า CCS และน้ำตาลตัน CCS/ไร่ สูงสุด คือ 15.4 CCS และ 3.08 ตัน CCS/ไร่
ศึกษาอายุและการสะสมน้ำตาลของอ้อยอู่ทอง 2 , 87-2-633, 89-2-366 ในช่วงฤดูหีบ
อ้อย 89-2-366, 87-2-633 และอู่ทอง 2 อายุเก็บเกี่ยว 9,10,11 และ 12 เดือน ในเดือนธันวาคม และมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ของปีถัดไป ตรวจสอบการสะสมน้ำตาลโดยใช้ค่า % โพลในน้ำอ้อย
89-2-366 อายุที่เท่ากันในแต่ละเดือนที่เก็บเกี่ยวให้ค่าโพลแตกต่างกัน อายุเก็บเกี่ยว 9 เดือน ให้ค่าโพลมากที่สุด (19.02 %) ในเดือนกุมภาพันธ์ และเริ่มลดลงในเดือนถัดไป อายุเก็บเกี่ยว 10 เดือน ให้ค่าโพลมากที่สุด (19.42 %) ในเดือนมีนาคม อายุเก็บเกี่ยว 11 และ 12 เดือนให้ค่าโพลมากที่สุด (19.95-20.82% และ 20.12-20.62% ตามลำดับ) ในเดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม อ้อย 89-2-366 อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม เป็นช่วงอายุและเดือนเก็บเกี่ยวที่ให้ค่าโพลสูงที่สุด
87-2-633 อายุที่เท่ากันในแต่ละเดือนที่เก็บเกี่ยว ให้ค่าโพลแตกต่างกัน อายุเก็บเกี่ยว 9 เดือน ให้ค่าโพลมากที่สุด (16.98 %) ในเดือนกุมภาพันธ์ และเริ่มลดลงในเดือนถัดไป อายุเก็บเกี่ยว 10 เดือน ให้ค่าโพลมากที่สุด (16.98 %) ในเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือน ให้ค่าโพลมากที่สุด (17.42%) ในเดือนมีนาคม อายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน ให้ค่าโพลมากที่สุด (18.13%) ในเดือนกุมภาพันธ์ และลดลง (เป็น 16.93%) ในเดือนถัดไป อ้อย 87-2-633 อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือนในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงอายุและเดือนเก็บเกี่ยวที่ให้ค่าโพลสูงที่สุด
อู่ทอง 2 อายุที่เท่ากันในแต่ละเดือนที่เก็บเกี่ยวให้ค่าโพลแตกต่างกัน อายุเก็บเกี่ยว 9 เดือน ให้ค่าโพลมากที่สุด (17.3%) ในเดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม อายุเก็บเกี่ยว 10 เดือน ให้ค่าโพลมากที่สุด (18.72%) ในเดือนกุมภาพันธ์ อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือนให้ค่าโพลมากที่สุด (20.03%) ในเดือนมกราคม และเริ่มลดลงในเดือนถัดไป อายุเก็บเกี่ยว 12 เดือนให้ค่าโพลมากที่สุด (19.53%) ในเดือนมกราคม และเริ่มลดลงในเดือนถัดไป อ้อยอู่ทอง 2 อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือน และเดือนเก็บเกี่ยวมกราคม กุมภาพันธ์ เป็นช่วงอายุและเดือนเก็บเกี่ยวให้ค่าโพลสูงที่สุด
ในช่วงเดือน ธันวาคม มกราคม อ้อยอู่ทอง 2 ให้ค่าโพลโดยเฉลี่ยสูงกว่าอ้อย89-2-366 ,87-2-633 และค่าโพลของอู่ทอง 2 โดยเฉลี่ยจะสูงสุดระหว่างเดือนมกราคม กุมภาพันธุ์ (18.4%) แล้วค่อยลดลงในเดือนมีนาคม (17.70%) อ้อย 89-2-366 ค่าโพลจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากเดือน ธันวาคม มกราคม และเพิ่มขึ้นจนได้ค่าโพลสูงสุดในเดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม (19.45 %) และ 19.33 % ตามลำดับ) อ้อย 87-2-633 ค่าโพลโดยเฉลี่ยแต่ละเดือนที่ตัดจะน้อยกว่าค่าโพลของ 89-2-366 และอู่ทอง 2 ค่าโพลของ 87-2-633 จะมากที่สุด (17.13%) ในเดือนกุมภาพันธ์ และเริ่มลดลงในเดือนมีนาคม (ค่าโพล 16.91%)
ในภาพรวมแล้วอ้อยอู่ทอง 2 จะให้ค่าโพลได้สูงเร็วกว่า 89-2-366,87-2-633 เรียงตามลำดับ เดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เป็นช่วงเดือนเก็บเกี่ยวอ้อยที่ได้ค่าโพลมากที่สุด
การศึกษาช่วงอายุและพันธุ์อ้อยในการทำอ้อยงบ
งานวิจัยนี้ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ปี 2538 วางแผนการทดลองแบบ factorial in RCB 3 ซ้ำ 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือ อ้อย 3 พันธุ์ ประกอบด้วยอ้อยพันธุ์ 90-1 ,พันธุ์ชัยนาท 1 และพันธุ์อู่ทอง 2 ปัจจัยที่ 2 คือ อายุเก็บเกี่ยวอ้อย 7,9,11 และ 13 เดือน โดยปลูกอ้อยทุกพันธุ์ในเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม และกรกฎาคม และเก็บเกี่ยวพร้อมกันหมดในเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อนำไปเคี่ยวเป็นอ้อยงบ ซึ่งพบว่า ช่วงอายุอ้อยที่เหมาะสมในการทำอ้อยงบอยู่ระหว่างช่วงอายุ 9 ถึง 13 เดือน ถึงแม้ว่า อ้อยที่อายุ 9-13 เดือน จะมีผลผลิตและคุณภาพความหวานไม่แตกต่างทางสถิติ แต่อ้อยที่อายุ 13 เดือน เป็นช่วงที่ดีที่สุดในการทำอ้อยงบเหมือนกันทั้ง 3 พันธุ์ เพราะว่าเป็นช่วงที่อ้อยให้ผลผลิต น้ำหนักลำ น้ำอ้อยสด และอ้อยงบสูงสุด คือ มีผลผลิตน้ำหนักลำต่อไร่เฉลี่ย 19,230 กก./ไร่ น้ำอ้อยสด 7,574 กก./ไร่ อ้อยงบ 1,549 กก./ไร่ และที่อายุอ้อย 13 เดือน เป็นช่วงที่อ้อยมีคุณภาพความหวานสูงสุด คือ มีค่า pol 19.0 ค่า CCS 14.6 ส่วนอ้อยอายุ 7 เดือน ไม่เหมาะในการทำเป็นอ้อยงบเพราะมีผลผลิตน้ำหนัก น้ำอ้อยสด และคุณภาพความหวานต่ำ ซึ่งเมื่อนำไปเคี่ยวเป็นอ้อยงบจะให้อัตราส่วนการเป็นอ้อยงบที่ต่ำและน้ำอ้อยไม่สามารถตกผลึกเป็นอ้อยงบได้
ในด้านคุณภาพของสีอ้อยงบ พบว่า อ้อยพันธุ์ 90-1 และพันธุ์อู่ทอง 2 ให้สีสวยกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 ในระหว่างช่วงอายุ 9 เดือนขึ้นไป ส่วนพันธุ์ชัยนาท 1 ให้คุณภาพสีไม่สวยเท่ากับ 2 พันธุ์แรก
อารักขาพืช
เปรียบเทียบการทำลายของหนอนกออ้อย ในอ้อย clone ที่สะสมน้ำตาลเร็ว
การศึกษาการเปรียบเทียบการทำลายของหนอนกออ้อย โดยการตรวจนับยอดเหี่ยว (dead heart) ในระยะหน่อของอ้อยลูกผสมสายพันธุ์ต่าง ๆ กับพันธุ์มาตรฐาน ทำการตรวจนับตั้งแต่อ้อยอายุ 2-5 เดือน ๆ ละครั้ง รวม 4 ครั้ง วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ ดำเนินการทดลองที่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี และ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ปี 2538 พบสายพันธุ์อ้อยลูกผสมที่มีระดับการทำลายของหนอนกออ้อยยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์มาตรฐาน (อู่ทอง 2) คือ กอพันธุ์ 88-2-023,88-3-489,89-2-366 และ 89-2-494
สรุปผลการทดลอง
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อสะสมน้ำตาลเร็ว อ้อยชุด 1991 พบว่า clone 91-2-594 มีการสะสม น้ำตาลเร็วและมีน้ำตาลต่อไร่สูง 3.06 ตัน ซี.ซี.เอส ต่อไร่ และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง(MS)
การปรับปรุงพันธุ์อ้อยเพื่อสะสมน้ำตาลเร็ว อ้อยชุด 1992 พบว่า clone ที่น่าสนใจได้แก่ 92-2-106 ,92-2-065,92-2-040 และ 92-2-354 เพราะว่า 92-2-106 ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง (MR) clone 92-2-065 ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง (MS) clone 92-2-040 และ 92-2-354 มีความหวานสูงโดยที่มีค่า ซีซีเอส. 16.0 และ 15.94 ตามลำดับ
การศึกษาการออกดอกของอ้อยมีผลทำให้ผลผลิตลดลงประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์
การศึกษาวิธีใส่ปุ๋ยไนโตรเจน พบว่า การใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 24 กก../ไร่ และ 12 กก./ไร่ และวิธีการใส่ 6 วิธี ไม่ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยต่อ 2 พันธุ์อู่ทอง 1 แตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ย 12 กก.N/ไร่ โดยการใส่ปุ๋ยทั้งหมดเมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน มีแนวโน้มอ้อยตอ 1 พันธุ์อู่ทอง 2 ให้น้ำตาล CCS สูงสุด 2.8 ตัน CCS/ไร่
การให้ปุ๋ยไนโตรเจนแก่อ้อยเมื่ออ้อยอายุ 5 เดือน (กรกฏาคม) ในอัตรา 15-30 และ 45 กก.N/ไร่ สามารถลดการออกดอกของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 ได้ โดยที่ทำให้อ้อยออกดอก 26.7,19.4 และ 16.9 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่อ้อยที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ออกดอก 26.8 เปอร์เซ็นต์
การใช้สารเร่งการสุกแก่อ้อย (glyphosate) อัตราความเข้มข้น 0.3 ของผลิตภัณฑ์ Quantum ทำให้ค่า CCS ของอ้อยเพิ่มขึ้น และเมื่อใส่ปุ๋ยไนโตรเจนร่วมกับการใช้สารเร่งการสุกแก่ ทำให้อ้อยให้ผลผลิตน้ำตาลสูงสุด ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีใช้ไนโตรเจน 15 กก.N/ไร่ ทำให้อ้อยมีน้ำตาลสูงสุด 2.39 ตัน CCS/ไร่ ส่วนที่สถานีทดลองพืชไร่พิษณุโลกใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 45 กก. N/ไร่ ทำให้อ้อยมีน้ำตาลสูงสุด 2.32 ตัน CCS/ไร่ ในขณะที่อ้อยที่ใช้ปุ๋ยอัตราเดียวกัน แต่ไม่ใช้glyphosate มีผลผลิตน้ำตาล 1.54 ตัน CCS/ไร่
การใช้สาร ethephon ในวันที่ 16 สิงหาคม อัตรา 153.6 g.a.i สามารถลดการออกดอกของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 จาก 41 เปอร์เซ็นต์เป็น 16.1 เปอร์เซ็นต์ และการใช้สาร ethephon อัตรา 76.8 g.a.i. สามารถลดการออกดอกของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 2 จาก 41 เปอร์เซ็นต์เป็น 30.6 เปอร์เซ็นต์ และสามารถทำให้อ้อยให้ผลผลิตสูงสุด 21.1 ตัน/ไร่
ศึกษาอายุและการสะสมน้ำตาลของอ้อย พันธุ์อู่ทอง 2 87-2-633 และ 89-2-366 พันธุ์อู่ทอง 2 อายุ 9 เดือน ในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม มีค่าโพล 17.3 % ในเดือนมกราคม อายุ 11 เดือน ให้ค่า โพล มากที่สุด 20.03 % clone 89-2-366 .ในเดือนกุมภาพันธ์ อายุ 9 เดือน ให้ค่าโพล 19.02 % ในเดือน กุมภาพันธ์ และมีนาคม อายุ 11 เดือน ให้ค่าโพล 19.95 และ 20.82 % ตามลำดับ clone 87-2-633 ในเดือนกุมภาพันธ์ อายุ 9 เดือน ให้ค่าโพล 16.98 % ในเดือน กุมภาพันธ์อายุ 12 เดือน ให้ค่าโพลสูงสุด 18.13 % โดยสรุปพันธุ์อู่ทอง 2 ให้ค่าโพลสูงเร็วกว่า 89-2-366 และ 87-2-633 ตามลำดับ เดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม เป็นช่วงเดือนเก็บเกี่ยวอ้อยที่ได้ค่าโพลมากที่สุด
การศึกษาช่วงอายุ และพันธุ์อ้อยในการทำอ้อยงบ ผลการทดลองปรากฏว่าอ้อยพันธุ์ 90-1 และอู่ทอง 2 ให้สีอ้อยงบดีกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 ส่วนอ้อยอายุ 13 เดือนดีทีสุดในการทำอ้อยงบและอ้อยอายุ 9-13 เดือน สามารถทำอ้อยงบได้แต่อ้อยอายุ 7 เดือน ไม่สามารถทำอ้อยงบได้ เพราะไม่สามารถตกผลึก
. การศึกษาการเปรียบเทียบการทำลายของหนอนกออ้อย พบว่า clone 88-2-023, 88-3-489, 89-2-
โปรดส่งคำถามและคำแนะนำ